วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

แหล่งท่องเที่ยว

พระตำหนักดอยตุง



ที่มา http://4.bp.blogspot.com



                    พระตำหนักดอยตุง ถือเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จย่า สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่เน้นความเรียบง่ายและการใช้ประโยชน์ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนากับบ้านพื้นเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ ที่เพดานห้องโถงทำเป็นเพดานดาว บริเวณด้านหลังพระตำหนักมีระเบียงยื่นออกไป เมื่อยืนที่ระเบียงจะเห็นทัศนียภาพของดอยตุงที่สวยงาม เมื่อยืนที่ระเบียงจะเห็นทัศนียภาพของดอยตุงที่สวยงาม บริเวณขอบระเบียงมีกระบะปลูกไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม

        

สวนแม่ฟ้าหลวง หรือ สวนดอยตุง




ที่มา http://travel.mthai.com









                      สวนแม่ฟ้าหลวง หรือ สวนดอยตุง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวบนพื้นที่ 25 ไร่ อยู่ด้านหน้าของพระตำหนักดอยตุง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2534 ภายในสวนถูกตกแต่งด้วยสีสันพรรณไม้ได้อย่างสวยงาม ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกดอกตลอดทั้งปี กลางสวนมีประติมากรรมเด็กยืนต่อตัว งานประติมากรรมนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่า “ความต่อเนื่อง” นอกจากแปลงไม้ประทับกลางแจ้งแล้วยังมีโรงเรือนไม้ในร่ม จุดเด่นคือกล้วยไม้จำพวกรองเท้านารีชนิดต่างๆ ที่มีดอกสวยงาม หากเดินเหนื่อย ที่นี่ยังมีร้านกาแฟไว้บริการซึ่งก็เป็นกาแฟที่ได้จากดอยตุงนี่เอง


หอพระราชประวัติ หรือ หอแห่งแรงบันดาลใจ






                       หอพระราชประวัติ ได้ปรับปรุงให้เป็น หอแห่งแรงบันดาลใจ ตั้งอยู่หน้าสุดของพระตำหนัก เป็นอาคารแสดงพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระราชวงศ์ มีห้องจัดแสดงนิทรรศการ 7 ห้อง

ห้อง 1 ราชสกุลมหิดล

                       ในฐานะครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่อบอุ่น เปี่ยมด้วยความรัก และเป็นดุจดั่งหยดน้ำที่รวมตัวกันหลั่งลงมา บำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ปวงพสกนิกร

ห้อง 2 เรื่องราวของราชสกุล

                        ผ่านพระราชประวัติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี?? สิ่งที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ย่อมเกิดจากจุดเล็กๆรอบตัว โดยเฉพาะภายในครอบครัว ห้องนี้จึงนำเสนอเรื่องราว ตั้งแต่ทรงเป็น “เด็กหญิงสังวาลย์” ที่ใฝ่ดี และแสวงหาโอกาส จนเป็น “คู่ชีวิตเจ้าฟ้า” ที่ได้ซึบซับพระราชปณิธานอันแรงกล้าในการทรงงาน เพื่อแผ่นดินไทยของพระสวามี มาเป็น”แม่ของลูก” ที่มีหลักในการอบรมเลี้ยงดูพระโอรสพระธิดา “ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” และในที่สุดกลายเป็น “แม่ฟ้าหลวง” ของปวงชนชาวไทยที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้คนที่แร้นแค้นมากมายได้มีชีวิตที่ดีขึ้น

ห้อง 3 การกลับคืนสู่มาตุภูมิของราชสกุลมหิดล

                         ด้วยความรับผิดชอบที่ทรงมีต่อประเทศชาติ สมาชิกของราชสกุลมหิดล ทรงต้องละวางชีวิตที่เรียบง่าย อิสระ และมีความสุข เพื่อเสด็จนิวัติกลับคืนสู่มาตุภูมิ มาทรงรับพระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ในฐานะพระมหากษัตริย์ของประชาชน ในยุคที่บ้านเมืองสับสนวุ่นวาย

ห้อง 4 ความทุกข์ยากของประชาชน

                        การขึ้นครองราชย์ หาใช่ความสุขสบายไม่ หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการทรงงานที่หนักหน่วง ตลอดพระชนม์ชีพ เพราะ “ปัญหาไม่มีวันหยุด” และมีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง

ห้อง 5 แบบแผนการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนอย่างยั่งยืน

                       ด้วยอุปกรณ์ธรรมดาๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้ทรงงานจนคุ้นตา ได้แก่
แผนที่ วิทยุสื่อสาร ดินสอ และกล้องถ่ายรูป สะท้อนถึงหลักการและวิธีการทรงงาน ที่ทรงมุ่งทำความ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อแก้ปัญหาของคนไทย ตั้งแต่คนบนภูเขา
บนที่ราบสูง ในที่ราบลุ่ม จนจรดชายฝั่งทะเล ผู้ชมจะได้เพลิดเพลินกับเทคนิค Shadow animation ที่ใช้อธิบายเรื่องซับซ้อนในการแก้ปัญหาต่างๆ ให้เป็นเรื่องง่ายต่อการเข้าใจ

ห้อง 6 แบบแผนการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนบนดอยตุง

                        เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ 87 พรรษา ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโคงการพัฒนาดอยตุงๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมทองคำอย่างครบวงจร ด้วยการ “ปลูกป่า ปลูกคน” ควบคู่กันไป โดยทรงศึกษาจากโครงการในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนำกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ มาปรับใช้ที่ดอยตุง หรือเรียกง่ายๆว่า เป็นโครงการพัฒนาที่ “แม่เรียนจากลูก” ทุกวันนี้ ทั้งคนและผืนป่าของดอยตุง ได้รับการพลิกฟื้นคืนสู่ชีวิตที่พอเพียงและมีศักดิ์ศรี


ห้อง 7 ห้องแห่งแรงบันดาลใจ

                      แรงบันดาลใจที่สมาชิกราชสกุลมหิดลทั้งห้าพระองค์ทรงมีต่อกันและกัน ได้นำไปสู่ทางออกของปัญหาและปัญหาเล่า และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแก่ประเทศชาติบ้านเมืองมากมาย

 

พระธาตุดอยตุง

 


 

                    พระธาตุดอยตุง เป็นเจดีย์สีทองคู่กันตั้งอยู่ริมหน้าผา อายุเก่าแก่หลายร้อยปี จากที่ตั้งเจดีย์นี้สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้ อากาศเย็นสบาย

ประวัติพระธาตุดอยตุง

                   ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วาปักบนยอดเขาหากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงศ์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังราย

                จึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

               ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งรุ่ง การมีชัยชนะ ในวัดจะมี รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่าเป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3 ยังถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีกุน ที่นิยมมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล



 
 




ตลาดเช้าชาวเขา



ที่มา https://sites.google.com



                    เป็นสถานที่ ๆ ชาวบ้านใช้เป็นตลาดซื้ออาหารและชาวเขาหลายเผ่านำผลผลิตมาขาย แต่มีลักษณะเด่นตรงที่ไม่มีการสร้างเพื่อใช้เป็นตลาด ผู้ขายจะนำสินค้ามาวางตามถนน ในตลาดเช้า และคนจะมาเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น เริ่มมีคนตั้งแต่เวลา 05.00 น. ถึง 08.00 น.

ดอยแม่สลอง










                      เป็นชุมชนชาวจีนอพยพจากกองพล 93 ในราวปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดอกซากุระจะบานสะพรั่งดูสวยงามมาก และเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะได้สัมผัสอากาศหนาวเย็น ชมทะเลหมอก ชิมชารสดี และอาหารจีนต้นตำรับจากยูนาน การเดินทางจากเชียงราย ใช้เส้นทางเชียงราย – แม่จัน 29 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน – แม่อาย) อีก 38 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร บนเส้นทางจะผ่านน้ำพุร้อนห้วยหินฝน และในเส้นทางลงดอยแม่สลองใช้ทางหลวงหมายเลข 1234 จะผ่านหมู่บ้านผาเดื่อ บ้านสามแยกอีก้อ จากจุดนี้สามารถไปบ้านเทอดไทยและสิ้นสุดทางที่ดอยหัวแม่คำรวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร

                   



                     ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อบ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 ซึ่งอพยพจากประเทศพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพันคือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ปี 2504 บนดอยแม่สลองมีสถานที่น่าสนใจหลายแห่งให้ได้ชื่นชมกัน เช่น ในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ จะเห็น ดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธุ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาว จะบานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่หาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะจะเจริญเติบโตอยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น สุสานนายพลต้วน ผู้นำแห่งกองพัน 5 ซึ่งเสียชีวิตที่นี่ เป็นสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อนอยู่บนเขา จากสุสานสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของทะเลภูเขาได้ และไม่ควรพลาดการชิมชา รสชาติกลมกล่อม หอม ซึ่งจะมีอยู่หลายร้านในหมู่บ้าน และหาซื้อกลับบ้านไปเป็นของฝาก




                        การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จันไป 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไป 12 กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาเลยจากศูนย์ฯ ไป 11 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านเย้าถึงบ้านอีก้อสามแยก ทางขวาไปหมู่บ้านเทอดไทย ส่วนแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 42 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย ในกรณีไม่ได้ขับรถมาเองสามารถขึ้นรถประจำทางจากตัวเมืองเชียงรายไปต่อรถสองแถวที่ปากทางขึ้นดอยแม่สลอง และจากดอยแม่สลองมีถนนเชื่อมต่อไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร

  
 

จุดชมวิว

 

 

http://www.chiangraifocus.com/travel/imageFiles/191/20141203164409.jpg

                  บริเวณดอยตุงมีจุดชมวิวที่สวยงามหลายแห่ง ริมทางหลวงหมายเลขที่1149 มีจุดชมวิวที่กม. 12 และกม.14 นอกจากนี้ตามเส้นทาง วัดน้อยดอยตุง-บ้านผาหมี ซึ่งเป็นถนนซึ่งทอดยาวไปตามแนวเขาผ่านยอดดอยหลายลูก มีจุดชมวิวซึ่งมองเห็นทิวทัศน์ ได้กว้างไกล เช่น จุดชมวิวบนดอยช้างมูบ ดอยผาฮี้ และดอยผาห่ม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

สถูปดอยช้างมูบ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                          ตั้งอยู่บนดอยช้างมูบ ริมถนนสายพระธาตุดอยตุง บ้านผาหมี ห่างจากทางแยกวัดน้อยดอยตุงประมาร 4 กม. ตำนานสิงหนวัติ และตำนานโยนกนาคพันธ์กล่าวถึงดอยช้างมูบว่า ในรัชกาลที่ 10 พระเจ้าชาติราย ได้มีกัมระปติสะโลเทพบุตร นำไม้นิโครธมาปลูก ณ ดอยช้างมูบ ต้นไม้นั้นเมื่อโตได้สูง 7 ศอก ได้แตกสาขาเป็น 4 กิ่ง สามารถให้ร่มเงาให้แก่คนได้ 20 คน ประชาชนมีความเชื่อว่าหากนำไม้มาค้ำกิ่งนิโครธน้ำจะทำให้บรรลุความปรารถนาเช่นเดียวกับต้นกัลปพฤกษ์ กล่าวคือ ทิศตะวันออก ได้บุตรสมประสงค์ ทิศเหนือได้ทรัพย์ ทิศตะวันตกเจริญรุ่งเรือง และทิศใต้อายุยืนนาน ปัจจุบันคงเหลือเพียงพระสถูปช้างมูบเป็นเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนช้างหมอบอยู่ สภาพโดยเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ และต้นสนซึ่งใช้ปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ
  
 
 
 

ทุ่งดอกบัวตอง ดอยหัวแม่คำ

 

http://www.kruau2.com/158/58g03/P7.jpg

 

                ดอยหัวแม่คำ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ลีซอและอาข่า ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 100 กม  เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่ดอยหัวแม่คำจะเต็มไปด้วยดอกบัวตองสีเหลืองสดบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปตามแนวเขาวนอุทยานดอยหัวแม่คำ เป็นจุดชมวิวสูงสุดของดอยหัวแม่คำ มีทิวทัศน์งดงามเป็นวิวภูเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงกันได้อย่างงดงาม ช่วงเช้าสามารถเห็นทะเลหมอกอยู่ทั่วบริเวณภูเขาสถานีปลูกไม้เมืองหนาว มีไม้ตัดดอก เช่นคาเนชั่น แกลดิออรัส กุหลาบ ฯลฯ ให้ชมและเลือกซื้อด้วยเที่ยวหมู่บ้านชาวเขา ละแวกบ้านหัวแม่คำเป็นหมู่บ้านชาวเขากระจัดกระจายจำนวนสี่เผ่า คือ อาข่า ลีซอ ลาหู่ และม้ง โดยยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และเอกลักษณ์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น ระหว่างเดือน ธ.ค.-ม.ค. จะตรงกับการจัดงานปีใหม่ของแต่ละเผ่า ชาวเขาจะแต่งชุดประจำเผ่าที่สวยงามน้ำตกหัวแม่คำใหญ่ อยู่สุดปลายเส้นทาง ห่างจากบ้านหัวแม่คำไปเล็กน้อย เป็นพื้นที่รับผิดชอบของวนอุทยานดอยหัวแม่คำ เส้นทางช่วงนี้ค่อนข้างชัน ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ น้ำตกหัวแม่คำต้องเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 200 ม. เป็นน้ำตกขนาดกลาง สายน้ำไหลลดหลั่นลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 20 ม. น้ำเย็นจัด เป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนในละแวกดอยหัวแม่คำ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

แหล่งอ้างอิง

http://www.emagtravel.com/archive/doi-tung.html
http://www.amphoe.com/menu.php?mid=3&am=144&pv=12



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น