วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

ชาติพันธุ์และชนเผ่า


ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า












                      ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา

ชนเผ่าลีซู หรือ ลีซอ







                         ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ชาวลีซู ถึงเรื่องราวการอพยพว่า ได้อพยพมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ ของเมืองเชียงตุงประเทศพม่า เข้ามาตั้งถิ่น ฐานอยู่ที่บ้านลีซูห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย และโยกย้ายไปตั้งบ้านเรือน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่และสุโขทัย ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเองลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลายกับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำนั้นอยู่ พม่า จีน

ชนเผ่าม้ง







                    ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก


ชนเผ่าอาข่า หรือ อีก้อ








                          ชนเผ่าอาข่าเป็นชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีบรรพบุรุษพื้นเพเดิม อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ในประเทศจีนเรียกว่า “ฮานี หรือ โวน” โดยมีเส้นทาง 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก อพยพจากประเทศพม่าแคว้นเชียงตุง เข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากเกิดปัญหาทางการเมือง ด้านฝั่งเขตอำเภอแม่จัน ทางหมู่บ้านพญาไพร (ปัจจุบันเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง) และเส้นทางที่สอง อพยพโดยตรงจากประเทศจีนโดยเดินทางผ่านบริเวณตะเข็บชายแดนพม่า และแม่น้ำโขงประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย

                        ปัจจุบันชนเผ่าอาข่าได้กระจ่ายอยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ และคาดได้มีอาข่าบางส่วนได้อพยพไปอยู่จังหวัดน่าน พิษณุโลก และหลายจังหวัดของประเทศไทย เพราะไปใช้แรงงานในจังหวัดดังกล่าว ในประเทศไทยสามารถแบ่งชนเผ่าอาข่าได้เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มอู่โล้อาข่า ,กลุ่มลอมี้อาข่า , กลุ่มผะหมี๊อาข่า , กลุ่มหน่าค๊าอาข่า
กลุ่มเปี๊ยะอาข่า , กลุ่มอ้าเค้ออาข่า , กลุ่มอ้าจ้ออาข่า , กลุ่มอูพีอาข่า

ชนเผ่าลาหู่ หรือ มูเซอ




ที่มา http://4.bp.blogspot.com



                       ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

                         ลาหู่ หรือ มูเซอ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอดำและมูเซอแดง และกลุ่มเล็ก 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอฌีหรือมูเซอกุย และมูเซอเฌเล ซึ่งการแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยเช่นนี้ เป็นการแบ่งตามความแตกต่างในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาและการแต่งกาย แต่ในทางภาษาศาสตร์แล้ว ภาษามูเซอดำ มูเซอแดง และมูเซอเฌเล ใช้พูดติดต่อกันได้ ยกเว้นภาษามูเซอกุยเท่านั้นที่ใช้พูดติดต่อ กับมูเซอกลุ่มอื่นไม่ได้

                        มูเซอดำ เรียกตนเองว่า ละหู่นะ: อาจกล่าวได้ว่าพวกนี้เป็นมูเซอดั้งเดิมที่อพยพมาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาร์และยูนนาน

                      มูเซอแดง เรียกตนเองว่า ละหู่ณีย่า: ที่เรียกว่ามูเซอแดงนั้นมีความหมาย 2 ประการ คือ หมายถึงแถบสีแดงผืนผ้าของผู้หญิง หรืออาจหมายถึงพรานป่าก็ได้

                       มูเซอฌี หรือ มูเซอเหลือง: ซึ่งคนไทยและไทยใหญ่เรียกว่ามูเซอกุย พวกนี้เป็นมูเซอที่มาจากทางใต้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม คือ มูเซอชีนะตอ มูเซอซีอะดออะกา ทั้ง 2 กลุ่มนี้อยู่ทางใต้ของยูนนาน อีก 2 กลุ่ม คือ มูเซอชีบาหลา และมูเซอซีบาเกียว อาศัยในรัฐเชียงตุง รัฐฉานในเมียนมาร์และในประเทศไทย

                       มูเซอเฌเล เรียกตัวเองว่า นะเหมี่ยว: มาแต่ครั้งที่ยังตั้งหลักแหล่งอยู่ในยูนนาน และเพิ่งมาเรียกตนเองว่ามูเซอเฌเลเมื่ออพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย คนไทยเรียกพวกนี้ว่า มูเซอดำ โดยดูจากลักษณะการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดสีดำ มูเซอเฌเลในประเทศไทยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอพะคอ, มูเซอนะมือ, และมูเซอมะเหลาะ (มะลอ)

                      ปัจจุบันในประเทศไทย มีชนเผ่าลาหู่อาศัยโดยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย - พม่ากว่า 800 หมู่บ้าน พื้นที่ที่มีชาวลาหู่อาศัยอยู่มากได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง โดยเฉพาะตามพื้นที่ติดชายแดน ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ มักจะอาศัยปะปนกับชนเผ่าอื่นๆ หรือคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นหมู่บ้าน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ลาหู่แดง ซึ่งมีการนับถือผี โดยโตโบหรือผู้นำทางศาสนา ส่วนลาหู่ดำหรือลาหู่เหลือง ก็มีการนับถือผีเช่นกัน นอกจากนี้เผ่าลาหู่ก็ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย  

ชนเผ่าจีนยูนาน (จีนฮ่อ)







                     ชาวจีนยูนนานหรือชาวจีนฮ่อเป็นชาวจีนที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนานซึ่งอยู่ทางประเทศจีนตอนใต้ มีอาณาเขตติดกับรัฐฉานในพม่า ชาวจีนยูนานหรือจีนฮ่อ แบ่งออกได้เป็นสองพวก คือ “ผาสี” คือชาวจีนยูนนานที่นับถือศาสนาอิสลาม และ “ผาห้า” คือชาวจีนยูนนานที่ยังคงนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ

สำหรับการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยนั้นเล่ากันว่า
                     หลังจากที่เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับพรรคก๊กมินตั๋ง เหล่าบรรดาพรรคก๊กมินตั๋งผู้เป็นฝ่ายแพ้ส่วนหนึ่งได้อพยพมาตั้งหลักกันอยู่ที่มณฑลยูนาน และอพยพเข้าประเทศไทยในปี พ.ศ. 2495 ต่อมาตามลำดับชาวจีนยูนนานตั้งถิ่นฐานอยู่มากในประเทศไทยบริเวณพื้นที่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
                     ในส่วนของภาษา วัฒนธรรม และประเพณี ของชาวจีนยูนนานที่นี่นั้น พบว่าหมู่บ้านนี้มีความเข้มแข็งมากโดยเฉพาะด้านภาษาจีน เห็นได้จากภายในหมู่บ้านมีการสื่อสารกันด้วยภาษาจีนทั้งในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน ส่วนคนที่ไปทำงานต่างถิ่นหรือเด็กที่เรียนหนังสือจากข้างนอก เมื่อกลับเข้ามาในหมู่บ้าน ก็ยังมีความสามารถในการใช้ภาษาจีนได้ดังเดิม ทั้งนี้เนื่องจากภายในหมู่บ้านเองมีทั้งโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีนและภาษาไทยควบคู่กันไปด้วย

ชนเผ่าไทใหญ่





                 
                      ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า “ไต” พม่าเรียกว่า “ ชาน” หรือ “ฉาน” ชาวไทใหญ่ที่อยู่ในเขตประเทศจีน เรียกตนเองว่าเป็นไทเหนือด้วยถือว่าอาศัย อยู่ทางเหนือของแม่น้ำคง(แม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใต้ ในประเทศไทย มีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ จากตอนใต้ของประเทศจีนเมื่อประมาณศตวรรษที่ 17

ภาษาของชาวไทใหญ่ 


                ภาษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:ลิ่กไต๊) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีอักษรเป็นของตนเอง

                ชาวไทใหญ่ จะตั้งนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยลุง เช่น ลุงต่า ลุงลู่ ลุงคำ ลุงป้าง ฯลฯ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่นึกไม่ออกว่าจะใช้นามสกุลอะไร ก็เอาชื่อพ่อแม่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วมาตั้งเป็นนามสกุล

แหล่งอ้างอิง

http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/mien.html

http://www.langrevival.mahidol.ac.th/Research/website/cu.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น