วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

แนะนำตัว




นางสาว นิโลบล สิงห์คำ

รหัสนักศึกษา 571438011


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาชีววิทยา


วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน Section AD
 

เสนอ สถานที่ท่องเที่ยว อำแม่ฟ้าหลวง

Maefahluang

 
 
 
 
 
 


 
 


ประวัติที่ตั้ง อำเภอแม่ฟ้าหลวง

 


แผนที่เดินทางไปยังอำเภอ แม่ฟ้าหลวง






                     ได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2535 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม 2535 โดยแยกการปกครองจากอำเภอแม่จัน และได้รับพระราชทานชื่อ "กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง" จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2539

ที่ตั้งและอาณาเขต

 อำเภอแม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า)

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่สายและอำเภอแม่จัน

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่จัน

ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า)

                      อำเภอแม่ฟ้าหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 76 หมู่บ้าน ได้แก่ (ตำบลเทอดไทย แม่สลองใน แม่สลองนอก และแม่ฟ้าหลวง)


ข้อมูลทั่วไป

อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัด เชียงราย

รหัสทางภูมิศาสตร์ 5715

รหัสไปรษณีย์ 57110,

57240 (เฉพาะตำบลเทอดไทยและตำบลแม่ฟ้าหลวง)

ข้อมูลสถิติ

พื้นที่ 641.4 ตร.กม.

ประชากร 70,207 คน (พ.ศ. 2557)

ความหนาแน่น 109.45 คน/ตร.กม.

ที่ว่าการอำเภอ

ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวง ถนนห้วยไคร้-ดอยตุง ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57240

พิกัด 20°16′0″N 99°48′0″E

หมายเลขโทรศัพท์ 0 5376 7455






 

แหล่งอ้างอิง

คำขวัญอำเภอแม่ฟ้าหลวง



คำขวัญอำเภอแม่ฟ้าหลวง


พระตำหนักดอยตุงล้ำค่า สมเด็จย่าเป็นมิ่งขวัญ

เผ่าพันธุ์หลากหลายมากมายชาดี งามสดสีซากุระบาน
 

 
 
 
 
 


 

ชาติพันธุ์และชนเผ่า


ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า












                      ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา

ชนเผ่าลีซู หรือ ลีซอ







                         ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ชาวลีซู ถึงเรื่องราวการอพยพว่า ได้อพยพมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ ของเมืองเชียงตุงประเทศพม่า เข้ามาตั้งถิ่น ฐานอยู่ที่บ้านลีซูห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย และโยกย้ายไปตั้งบ้านเรือน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่และสุโขทัย ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเองลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลายกับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำนั้นอยู่ พม่า จีน

ชนเผ่าม้ง







                    ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก


ชนเผ่าอาข่า หรือ อีก้อ








                          ชนเผ่าอาข่าเป็นชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีบรรพบุรุษพื้นเพเดิม อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ในประเทศจีนเรียกว่า “ฮานี หรือ โวน” โดยมีเส้นทาง 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก อพยพจากประเทศพม่าแคว้นเชียงตุง เข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากเกิดปัญหาทางการเมือง ด้านฝั่งเขตอำเภอแม่จัน ทางหมู่บ้านพญาไพร (ปัจจุบันเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง) และเส้นทางที่สอง อพยพโดยตรงจากประเทศจีนโดยเดินทางผ่านบริเวณตะเข็บชายแดนพม่า และแม่น้ำโขงประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย

                        ปัจจุบันชนเผ่าอาข่าได้กระจ่ายอยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ และคาดได้มีอาข่าบางส่วนได้อพยพไปอยู่จังหวัดน่าน พิษณุโลก และหลายจังหวัดของประเทศไทย เพราะไปใช้แรงงานในจังหวัดดังกล่าว ในประเทศไทยสามารถแบ่งชนเผ่าอาข่าได้เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มอู่โล้อาข่า ,กลุ่มลอมี้อาข่า , กลุ่มผะหมี๊อาข่า , กลุ่มหน่าค๊าอาข่า
กลุ่มเปี๊ยะอาข่า , กลุ่มอ้าเค้ออาข่า , กลุ่มอ้าจ้ออาข่า , กลุ่มอูพีอาข่า

ชนเผ่าลาหู่ หรือ มูเซอ




ที่มา http://4.bp.blogspot.com



                       ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

                         ลาหู่ หรือ มูเซอ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอดำและมูเซอแดง และกลุ่มเล็ก 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอฌีหรือมูเซอกุย และมูเซอเฌเล ซึ่งการแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยเช่นนี้ เป็นการแบ่งตามความแตกต่างในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาและการแต่งกาย แต่ในทางภาษาศาสตร์แล้ว ภาษามูเซอดำ มูเซอแดง และมูเซอเฌเล ใช้พูดติดต่อกันได้ ยกเว้นภาษามูเซอกุยเท่านั้นที่ใช้พูดติดต่อ กับมูเซอกลุ่มอื่นไม่ได้

                        มูเซอดำ เรียกตนเองว่า ละหู่นะ: อาจกล่าวได้ว่าพวกนี้เป็นมูเซอดั้งเดิมที่อพยพมาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาร์และยูนนาน

                      มูเซอแดง เรียกตนเองว่า ละหู่ณีย่า: ที่เรียกว่ามูเซอแดงนั้นมีความหมาย 2 ประการ คือ หมายถึงแถบสีแดงผืนผ้าของผู้หญิง หรืออาจหมายถึงพรานป่าก็ได้

                       มูเซอฌี หรือ มูเซอเหลือง: ซึ่งคนไทยและไทยใหญ่เรียกว่ามูเซอกุย พวกนี้เป็นมูเซอที่มาจากทางใต้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม คือ มูเซอชีนะตอ มูเซอซีอะดออะกา ทั้ง 2 กลุ่มนี้อยู่ทางใต้ของยูนนาน อีก 2 กลุ่ม คือ มูเซอชีบาหลา และมูเซอซีบาเกียว อาศัยในรัฐเชียงตุง รัฐฉานในเมียนมาร์และในประเทศไทย

                       มูเซอเฌเล เรียกตัวเองว่า นะเหมี่ยว: มาแต่ครั้งที่ยังตั้งหลักแหล่งอยู่ในยูนนาน และเพิ่งมาเรียกตนเองว่ามูเซอเฌเลเมื่ออพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย คนไทยเรียกพวกนี้ว่า มูเซอดำ โดยดูจากลักษณะการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดสีดำ มูเซอเฌเลในประเทศไทยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอพะคอ, มูเซอนะมือ, และมูเซอมะเหลาะ (มะลอ)

                      ปัจจุบันในประเทศไทย มีชนเผ่าลาหู่อาศัยโดยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย - พม่ากว่า 800 หมู่บ้าน พื้นที่ที่มีชาวลาหู่อาศัยอยู่มากได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง โดยเฉพาะตามพื้นที่ติดชายแดน ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ มักจะอาศัยปะปนกับชนเผ่าอื่นๆ หรือคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นหมู่บ้าน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ลาหู่แดง ซึ่งมีการนับถือผี โดยโตโบหรือผู้นำทางศาสนา ส่วนลาหู่ดำหรือลาหู่เหลือง ก็มีการนับถือผีเช่นกัน นอกจากนี้เผ่าลาหู่ก็ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย  

ชนเผ่าจีนยูนาน (จีนฮ่อ)







                     ชาวจีนยูนนานหรือชาวจีนฮ่อเป็นชาวจีนที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนานซึ่งอยู่ทางประเทศจีนตอนใต้ มีอาณาเขตติดกับรัฐฉานในพม่า ชาวจีนยูนานหรือจีนฮ่อ แบ่งออกได้เป็นสองพวก คือ “ผาสี” คือชาวจีนยูนนานที่นับถือศาสนาอิสลาม และ “ผาห้า” คือชาวจีนยูนนานที่ยังคงนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ

สำหรับการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยนั้นเล่ากันว่า
                     หลังจากที่เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับพรรคก๊กมินตั๋ง เหล่าบรรดาพรรคก๊กมินตั๋งผู้เป็นฝ่ายแพ้ส่วนหนึ่งได้อพยพมาตั้งหลักกันอยู่ที่มณฑลยูนาน และอพยพเข้าประเทศไทยในปี พ.ศ. 2495 ต่อมาตามลำดับชาวจีนยูนนานตั้งถิ่นฐานอยู่มากในประเทศไทยบริเวณพื้นที่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
                     ในส่วนของภาษา วัฒนธรรม และประเพณี ของชาวจีนยูนนานที่นี่นั้น พบว่าหมู่บ้านนี้มีความเข้มแข็งมากโดยเฉพาะด้านภาษาจีน เห็นได้จากภายในหมู่บ้านมีการสื่อสารกันด้วยภาษาจีนทั้งในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน ส่วนคนที่ไปทำงานต่างถิ่นหรือเด็กที่เรียนหนังสือจากข้างนอก เมื่อกลับเข้ามาในหมู่บ้าน ก็ยังมีความสามารถในการใช้ภาษาจีนได้ดังเดิม ทั้งนี้เนื่องจากภายในหมู่บ้านเองมีทั้งโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีนและภาษาไทยควบคู่กันไปด้วย

ชนเผ่าไทใหญ่





                 
                      ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า “ไต” พม่าเรียกว่า “ ชาน” หรือ “ฉาน” ชาวไทใหญ่ที่อยู่ในเขตประเทศจีน เรียกตนเองว่าเป็นไทเหนือด้วยถือว่าอาศัย อยู่ทางเหนือของแม่น้ำคง(แม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใต้ ในประเทศไทย มีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ จากตอนใต้ของประเทศจีนเมื่อประมาณศตวรรษที่ 17

ภาษาของชาวไทใหญ่ 


                ภาษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:ลิ่กไต๊) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีอักษรเป็นของตนเอง

                ชาวไทใหญ่ จะตั้งนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยลุง เช่น ลุงต่า ลุงลู่ ลุงคำ ลุงป้าง ฯลฯ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่นึกไม่ออกว่าจะใช้นามสกุลอะไร ก็เอาชื่อพ่อแม่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วมาตั้งเป็นนามสกุล

แหล่งอ้างอิง

http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/mien.html

http://www.langrevival.mahidol.ac.th/Research/website/cu.html


ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และ งานฝีมือ

ผลิตภัณฑ์ (Product) กาแฟคั่วอาราบิก้า 





รายละเอียดผลิตภัณฑ์

กาแฟคั่วอาราบิก้า ดอยตุง 100% สูตรคั่วเข้มข้น (28747)

ขนาด (Size : cm)

กว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 9 เซนติเมตร สูง 23 เซนติเมตร


น้ำหนัก (Weight : g) 200 กรัม

ราคาขายปลีก 165 บาท

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องดื่ม
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

สถานที่จำหน่าย

สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน)อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

920 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57240

โทร : 053 767015-7

โทรสาร : 053 767020

หรือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงราชูปถัมป์

1875 ถนนพระราม4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทร : 02 2527114

โทรสาร : 02 2541665


ผลิตภัณฑ์ (Product) คุ๊กกี้แมคคาเดเมียนัท





รายละเอียดผลิตภัณฑ์

คุ๊กกี้แมคคาเดเมียนัท ชนิดกล่อง รสน้ำผึ้ง (28747)

ขนาด (Size : cm)

กว้าง 14 เซนติเมตร ยาว 24 เซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร

น้ำหนัก (Weight : g) 200 กรัม

ราคาขายปลีก 180 บาท

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : อาหาร

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

สถานที่จำหน่าย

สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน)อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

920 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57240

โทร : 053 767015-7

โทรสาร : 053 767020

หรือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงราชูปถัมป์

1875 ถนนพระราม4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทร : 02 2527114

โทรสาร : 02 2541665

ผลิตภัณฑ์ (Product) ใบชาเขียวอู่หลง



รายละเอียดผลิตภัณฑ์

ใบชาเขียวอู่หลง(OTOP)(APEC)

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องดื่ม
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

เป็นสินค้า APEC

สถานที่จำหน่าย

บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด

5 หมู่ 1 ต.แม่สลองนอก

อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57110

โทร : 053 765114-9, 08 1883 4875

e-mail : maesalongvilla@thaimail.com

ผลิตภัณฑ์ (Product) ใบชาต้งติ่งอู่หลง



รายละเอียดผลิตภัณฑ์

ใบชาต้งติ่งอู่หลง(OTOP)(APEC)

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องดื่ม

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

เป็นสินค้า APEC

วัตถุดิบที่ใช้

ใบชา

สถานที่จำหน่าย

บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด

5 หมู่ 1 ต.แม่สลองนอก

อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57110

โทร : 053 765114-9, 08 1883 4875

e-mail : maesalongvilla@thaimail.com

ผลิตภัณฑ์ (Product) ใบชาอู่หลงก้านอ่อนใหม่




รายละเอียดผลิตภัณฑ์

ใบชาอู่หลงก้านอ่อนใหม่(OTOP)(APEC)

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องดื่ม

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

เป็นสินค้า APEC

สถานที่จำหน่าย

บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด

5 หมู่ 1 ต.แม่สลองนอก

อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57110

โทร : 053 765114-9, 08 1883 4875

e-mail : maesalongvilla@thaimail.com

ผลิตภัณฑ์ (Product) ใบชาอู่หลงเบอร์ 12





รายละเอียดผลิตภัณฑ์

ใบชาอู่หลงเบอร์ 12(OTOP)(APEC)

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องดื่ม

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

เป็นสินค้า APEC

สถานที่จำหน่าย

บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด

5 หมู่ 1 ต.แม่สลองนอก

อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57110

โทร : 053 765114-9, 08 1883 4875

e-mail : maesalongvilla@thaimail.com

ผลิตภัณฑ์ (Product) ผ้าคลุมเตียง





รายละเอียดผลิตภัณฑ์

ผ้าคลุมเตียง(OTOP)

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องใช้ และเครื่องประดับตกแต่ง

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

สถานที่จำหน่าย 

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง 
หมู่ 7 ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57110

ผลิตภัณฑ์ (Product) ผ้าพันคอ 








รายละเอียดผลิตภัณฑ์

ผ้าพันคอ ทำจากผ้าฝ้ายทอมือ (28747)

ราคาขายปลีก 1700 บาท

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : : ระดับภาค 5 ดาว

สถานที่จำหน่าย

สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน)อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

920 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57240

โทร : 053 767015-7

โทรสาร : 053 767020

หรือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงราชูปถัมป์

1875 ถนนพระราม4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทร : 02 2527114

โทรสาร : 02 2541665


ผลิตภัณฑ์ (Product) ลูกประคบสมุนไพร





รายละเอียดผลิตภัณฑ์

ลูกประคบสมุนไพร(OTOP)

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

สถานที่จำหน่าย

กลุ่มดอยน้ำซับ

22 หมู่ 2 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57110

ติดต่อ : คุณปวลี นำภา

โทร : 053 763313

ผลิตภัณฑ์ (Product) หมอนสมุนไพรสุขภาพ






รายละเอียดผลิตภัณฑ์

หมอนสมุนไพรสุขภาพ(OTOP)

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ : สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : ระดับภาค 5 ดาว

สถานที่จำหน่าย

กลุ่มดอยน้ำซับ

22 หมู่ 2 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57110

ติดต่อ : คุณปวลี นำภา

โทร : 053 763313

แมคคาเดเมียสมุนไพร







รหัสสินค้า : 571504-C123

ประเภทผลิตภัณฑ์ : อาหาร.

ขนาด : 8.00 X 8.00 X 11.00 เซนติเมตร

น้ำหนัก :90.00 กรัม

สินค้าจากจังหวัด : จังหวัดเชียงราย

65.00 บาท

สถานที่จัดจำหน่าย

สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง

920 หมู่ที่ 7 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57240

โทร : 053 767015-7

แหล่งท่องเที่ยว

พระตำหนักดอยตุง



ที่มา http://4.bp.blogspot.com



                    พระตำหนักดอยตุง ถือเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จย่า สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่เน้นความเรียบง่ายและการใช้ประโยชน์ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนากับบ้านพื้นเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ ที่เพดานห้องโถงทำเป็นเพดานดาว บริเวณด้านหลังพระตำหนักมีระเบียงยื่นออกไป เมื่อยืนที่ระเบียงจะเห็นทัศนียภาพของดอยตุงที่สวยงาม เมื่อยืนที่ระเบียงจะเห็นทัศนียภาพของดอยตุงที่สวยงาม บริเวณขอบระเบียงมีกระบะปลูกไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม

        

สวนแม่ฟ้าหลวง หรือ สวนดอยตุง




ที่มา http://travel.mthai.com









                      สวนแม่ฟ้าหลวง หรือ สวนดอยตุง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวบนพื้นที่ 25 ไร่ อยู่ด้านหน้าของพระตำหนักดอยตุง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2534 ภายในสวนถูกตกแต่งด้วยสีสันพรรณไม้ได้อย่างสวยงาม ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกดอกตลอดทั้งปี กลางสวนมีประติมากรรมเด็กยืนต่อตัว งานประติมากรรมนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่า “ความต่อเนื่อง” นอกจากแปลงไม้ประทับกลางแจ้งแล้วยังมีโรงเรือนไม้ในร่ม จุดเด่นคือกล้วยไม้จำพวกรองเท้านารีชนิดต่างๆ ที่มีดอกสวยงาม หากเดินเหนื่อย ที่นี่ยังมีร้านกาแฟไว้บริการซึ่งก็เป็นกาแฟที่ได้จากดอยตุงนี่เอง


หอพระราชประวัติ หรือ หอแห่งแรงบันดาลใจ






                       หอพระราชประวัติ ได้ปรับปรุงให้เป็น หอแห่งแรงบันดาลใจ ตั้งอยู่หน้าสุดของพระตำหนัก เป็นอาคารแสดงพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระราชวงศ์ มีห้องจัดแสดงนิทรรศการ 7 ห้อง

ห้อง 1 ราชสกุลมหิดล

                       ในฐานะครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่อบอุ่น เปี่ยมด้วยความรัก และเป็นดุจดั่งหยดน้ำที่รวมตัวกันหลั่งลงมา บำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ปวงพสกนิกร

ห้อง 2 เรื่องราวของราชสกุล

                        ผ่านพระราชประวัติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี?? สิ่งที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ย่อมเกิดจากจุดเล็กๆรอบตัว โดยเฉพาะภายในครอบครัว ห้องนี้จึงนำเสนอเรื่องราว ตั้งแต่ทรงเป็น “เด็กหญิงสังวาลย์” ที่ใฝ่ดี และแสวงหาโอกาส จนเป็น “คู่ชีวิตเจ้าฟ้า” ที่ได้ซึบซับพระราชปณิธานอันแรงกล้าในการทรงงาน เพื่อแผ่นดินไทยของพระสวามี มาเป็น”แม่ของลูก” ที่มีหลักในการอบรมเลี้ยงดูพระโอรสพระธิดา “ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” และในที่สุดกลายเป็น “แม่ฟ้าหลวง” ของปวงชนชาวไทยที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้คนที่แร้นแค้นมากมายได้มีชีวิตที่ดีขึ้น

ห้อง 3 การกลับคืนสู่มาตุภูมิของราชสกุลมหิดล

                         ด้วยความรับผิดชอบที่ทรงมีต่อประเทศชาติ สมาชิกของราชสกุลมหิดล ทรงต้องละวางชีวิตที่เรียบง่าย อิสระ และมีความสุข เพื่อเสด็จนิวัติกลับคืนสู่มาตุภูมิ มาทรงรับพระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ในฐานะพระมหากษัตริย์ของประชาชน ในยุคที่บ้านเมืองสับสนวุ่นวาย

ห้อง 4 ความทุกข์ยากของประชาชน

                        การขึ้นครองราชย์ หาใช่ความสุขสบายไม่ หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการทรงงานที่หนักหน่วง ตลอดพระชนม์ชีพ เพราะ “ปัญหาไม่มีวันหยุด” และมีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง

ห้อง 5 แบบแผนการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนอย่างยั่งยืน

                       ด้วยอุปกรณ์ธรรมดาๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้ทรงงานจนคุ้นตา ได้แก่
แผนที่ วิทยุสื่อสาร ดินสอ และกล้องถ่ายรูป สะท้อนถึงหลักการและวิธีการทรงงาน ที่ทรงมุ่งทำความ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อแก้ปัญหาของคนไทย ตั้งแต่คนบนภูเขา
บนที่ราบสูง ในที่ราบลุ่ม จนจรดชายฝั่งทะเล ผู้ชมจะได้เพลิดเพลินกับเทคนิค Shadow animation ที่ใช้อธิบายเรื่องซับซ้อนในการแก้ปัญหาต่างๆ ให้เป็นเรื่องง่ายต่อการเข้าใจ

ห้อง 6 แบบแผนการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนบนดอยตุง

                        เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ 87 พรรษา ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโคงการพัฒนาดอยตุงๆ เพื่อแก้ไขปัญหาของดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมทองคำอย่างครบวงจร ด้วยการ “ปลูกป่า ปลูกคน” ควบคู่กันไป โดยทรงศึกษาจากโครงการในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนำกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ มาปรับใช้ที่ดอยตุง หรือเรียกง่ายๆว่า เป็นโครงการพัฒนาที่ “แม่เรียนจากลูก” ทุกวันนี้ ทั้งคนและผืนป่าของดอยตุง ได้รับการพลิกฟื้นคืนสู่ชีวิตที่พอเพียงและมีศักดิ์ศรี


ห้อง 7 ห้องแห่งแรงบันดาลใจ

                      แรงบันดาลใจที่สมาชิกราชสกุลมหิดลทั้งห้าพระองค์ทรงมีต่อกันและกัน ได้นำไปสู่ทางออกของปัญหาและปัญหาเล่า และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแก่ประเทศชาติบ้านเมืองมากมาย

 

พระธาตุดอยตุง

 


 

                    พระธาตุดอยตุง เป็นเจดีย์สีทองคู่กันตั้งอยู่ริมหน้าผา อายุเก่าแก่หลายร้อยปี จากที่ตั้งเจดีย์นี้สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้ อากาศเย็นสบาย

ประวัติพระธาตุดอยตุง

                   ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วาปักบนยอดเขาหากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงศ์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังราย

                จึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

               ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งรุ่ง การมีชัยชนะ ในวัดจะมี รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่าเป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3 ยังถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีกุน ที่นิยมมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล



 
 




ตลาดเช้าชาวเขา



ที่มา https://sites.google.com



                    เป็นสถานที่ ๆ ชาวบ้านใช้เป็นตลาดซื้ออาหารและชาวเขาหลายเผ่านำผลผลิตมาขาย แต่มีลักษณะเด่นตรงที่ไม่มีการสร้างเพื่อใช้เป็นตลาด ผู้ขายจะนำสินค้ามาวางตามถนน ในตลาดเช้า และคนจะมาเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น เริ่มมีคนตั้งแต่เวลา 05.00 น. ถึง 08.00 น.

ดอยแม่สลอง










                      เป็นชุมชนชาวจีนอพยพจากกองพล 93 ในราวปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดอกซากุระจะบานสะพรั่งดูสวยงามมาก และเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะได้สัมผัสอากาศหนาวเย็น ชมทะเลหมอก ชิมชารสดี และอาหารจีนต้นตำรับจากยูนาน การเดินทางจากเชียงราย ใช้เส้นทางเชียงราย – แม่จัน 29 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน – แม่อาย) อีก 38 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร บนเส้นทางจะผ่านน้ำพุร้อนห้วยหินฝน และในเส้นทางลงดอยแม่สลองใช้ทางหลวงหมายเลข 1234 จะผ่านหมู่บ้านผาเดื่อ บ้านสามแยกอีก้อ จากจุดนี้สามารถไปบ้านเทอดไทยและสิ้นสุดทางที่ดอยหัวแม่คำรวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร

                   



                     ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อบ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 ซึ่งอพยพจากประเทศพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพันคือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ปี 2504 บนดอยแม่สลองมีสถานที่น่าสนใจหลายแห่งให้ได้ชื่นชมกัน เช่น ในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ จะเห็น ดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธุ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาว จะบานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่หาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะจะเจริญเติบโตอยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น สุสานนายพลต้วน ผู้นำแห่งกองพัน 5 ซึ่งเสียชีวิตที่นี่ เป็นสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อนอยู่บนเขา จากสุสานสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของทะเลภูเขาได้ และไม่ควรพลาดการชิมชา รสชาติกลมกล่อม หอม ซึ่งจะมีอยู่หลายร้านในหมู่บ้าน และหาซื้อกลับบ้านไปเป็นของฝาก




                        การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เลยจากอำเภอแม่จันไป 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไป 12 กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาเลยจากศูนย์ฯ ไป 11 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านเย้าถึงบ้านอีก้อสามแยก ทางขวาไปหมู่บ้านเทอดไทย ส่วนแยกซ้ายไปดอยแม่สลอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 42 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย ในกรณีไม่ได้ขับรถมาเองสามารถขึ้นรถประจำทางจากตัวเมืองเชียงรายไปต่อรถสองแถวที่ปากทางขึ้นดอยแม่สลอง และจากดอยแม่สลองมีถนนเชื่อมต่อไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร

  
 

จุดชมวิว

 

 

http://www.chiangraifocus.com/travel/imageFiles/191/20141203164409.jpg

                  บริเวณดอยตุงมีจุดชมวิวที่สวยงามหลายแห่ง ริมทางหลวงหมายเลขที่1149 มีจุดชมวิวที่กม. 12 และกม.14 นอกจากนี้ตามเส้นทาง วัดน้อยดอยตุง-บ้านผาหมี ซึ่งเป็นถนนซึ่งทอดยาวไปตามแนวเขาผ่านยอดดอยหลายลูก มีจุดชมวิวซึ่งมองเห็นทิวทัศน์ ได้กว้างไกล เช่น จุดชมวิวบนดอยช้างมูบ ดอยผาฮี้ และดอยผาห่ม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

สถูปดอยช้างมูบ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                          ตั้งอยู่บนดอยช้างมูบ ริมถนนสายพระธาตุดอยตุง บ้านผาหมี ห่างจากทางแยกวัดน้อยดอยตุงประมาร 4 กม. ตำนานสิงหนวัติ และตำนานโยนกนาคพันธ์กล่าวถึงดอยช้างมูบว่า ในรัชกาลที่ 10 พระเจ้าชาติราย ได้มีกัมระปติสะโลเทพบุตร นำไม้นิโครธมาปลูก ณ ดอยช้างมูบ ต้นไม้นั้นเมื่อโตได้สูง 7 ศอก ได้แตกสาขาเป็น 4 กิ่ง สามารถให้ร่มเงาให้แก่คนได้ 20 คน ประชาชนมีความเชื่อว่าหากนำไม้มาค้ำกิ่งนิโครธน้ำจะทำให้บรรลุความปรารถนาเช่นเดียวกับต้นกัลปพฤกษ์ กล่าวคือ ทิศตะวันออก ได้บุตรสมประสงค์ ทิศเหนือได้ทรัพย์ ทิศตะวันตกเจริญรุ่งเรือง และทิศใต้อายุยืนนาน ปัจจุบันคงเหลือเพียงพระสถูปช้างมูบเป็นเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ซึ่งมีลักษณะเหมือนช้างหมอบอยู่ สภาพโดยเป็นต้นโพธิ์ใหญ่ และต้นสนซึ่งใช้ปลูกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ
  
 
 
 

ทุ่งดอกบัวตอง ดอยหัวแม่คำ

 

http://www.kruau2.com/158/58g03/P7.jpg

 

                ดอยหัวแม่คำ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ลีซอและอาข่า ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 100 กม  เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่ดอยหัวแม่คำจะเต็มไปด้วยดอกบัวตองสีเหลืองสดบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปตามแนวเขาวนอุทยานดอยหัวแม่คำ เป็นจุดชมวิวสูงสุดของดอยหัวแม่คำ มีทิวทัศน์งดงามเป็นวิวภูเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงกันได้อย่างงดงาม ช่วงเช้าสามารถเห็นทะเลหมอกอยู่ทั่วบริเวณภูเขาสถานีปลูกไม้เมืองหนาว มีไม้ตัดดอก เช่นคาเนชั่น แกลดิออรัส กุหลาบ ฯลฯ ให้ชมและเลือกซื้อด้วยเที่ยวหมู่บ้านชาวเขา ละแวกบ้านหัวแม่คำเป็นหมู่บ้านชาวเขากระจัดกระจายจำนวนสี่เผ่า คือ อาข่า ลีซอ ลาหู่ และม้ง โดยยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และเอกลักษณ์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น ระหว่างเดือน ธ.ค.-ม.ค. จะตรงกับการจัดงานปีใหม่ของแต่ละเผ่า ชาวเขาจะแต่งชุดประจำเผ่าที่สวยงามน้ำตกหัวแม่คำใหญ่ อยู่สุดปลายเส้นทาง ห่างจากบ้านหัวแม่คำไปเล็กน้อย เป็นพื้นที่รับผิดชอบของวนอุทยานดอยหัวแม่คำ เส้นทางช่วงนี้ค่อนข้างชัน ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ น้ำตกหัวแม่คำต้องเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 200 ม. เป็นน้ำตกขนาดกลาง สายน้ำไหลลดหลั่นลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 20 ม. น้ำเย็นจัด เป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนในละแวกดอยหัวแม่คำ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

แหล่งอ้างอิง

http://www.emagtravel.com/archive/doi-tung.html
http://www.amphoe.com/menu.php?mid=3&am=144&pv=12